Beng Melea
Beng Mealea, its name means " lotus pond " is a temple in the Angkor Wat style located 40 km east of the main group of temples at Angkor, Cambodia, on the ancient royal highway to Preah Khan Kompong Svay.
The templeIt was built as hinduist temple, but there are some carvings depicting buddhist motifs. Its primary material is sandstone and it is largely unrestored, with trees and thick brush thriving amidst its towers and courtyards and many of its stones lying in great heaps. For years it was difficult to reach, but a road recently built to the temple complex of Koh Ker passes Beng Mealea and more visitors are coming to the site, as it is 77 km from Siem Reap by road.
The history of the temple is unknown and it can be dated only by its architectural style, identical to Angkor Wat, so scholars assumed it was built during the reign of king Suryavarman II in the early 12th century. Smaller in size than Angkor Wat, the king's main monument, Beng Mealea nonetheless ranks among the Khmer empire's larger temples: the gallery which forms the outer enclosure of the temple is 181 m by 152 m. It was the center of a town, surrounded by a moat 1025 m by 875 m large and 45 m wide.
Beng Mealea is oriented toward the east, but has entranceways from the other three cardinal directions. The basic layout is three enclosing galleries around a central sanctuary, collapsed at present. The enclosures are tied with "cruciform cloisters", like Angkor Wat. Structures known as libraries lie to the right and left of the avenue that leads in from the east. There is extensive carving of scenes from Hindu mythology, including the Churning of the Sea of Milk and Vishnu being borne by the bird god Garuda. Causeways have long balustrades formed by bodies of the seven-headed Naga serpent.
It was built mostly of sandstone: Beng Mealea is only 7 km far from the angkorian sandstone quarries of Phnom Kulen, as the crow flies. Presumably sandstone blocks used for Angkor were transported along artificial water canals and passed from here. Despite of lack of information, the quality of architecture and decorations has drown the attention of French scholars just from its discovery.
(Source : Wikiipedia)
ทริปเกาะแกร์ ตอนที่ 14
ุเบ็งเมเลีย อาณาจักรขอมโบราณ
(Beng Melea )
(เดินทางเมื่อเดือน พค.51)
เกาะแกร์ตอนที่ 14 ได้เดินทางมาถึงโค้งสุดท้ายแล้ว ในตอนนี้จะพาไปเที่ยวปราสาท เบ็งเมเลีย ( Beng Melea ) ส่วนตอนที่ 15 ตอนสุดท้ายจะพานั่งรถซิ่งเมืองเขมร ที่โชเฟอร์คนขับเหยียบกันอย่างชนิดไม่กลัวรถพัง ท่ามกลางดงฝุ่นและสายฝนในช่วงพลบค่ำบนถนนสายระหว่างเสียมเรียบสู่ปอยเปต ใครอยากเห็นถนนที่สร้างกันยาวนานถึง 7 ชั่วโคตรของเขมร ก่อนจะกลายมาเป็นถนนราดยางเหมือนปัจจุบัน ก็ต้องติดตาม
ปราสาทเบ็งเมเลีย ฉายานครวัดแห่งตะวันออก เป็นปราสาทที่อยู่โดดเดี่ยวกลางป่าเมืองเขมร อยู่ห่างจากเมืองเสียมเรียบไปประมาณ 80 กม.
ปราสาทที่อยู่โดดเดี่ยวและค่อนข้างไกลขนาดนี้ คงน้อยคนนักที่จะมีโอกาสได้เห็น เพราะลำพังแค่นครวัด-นครธม หรือเมืองพระนครของขอมในอดีต ก็มีปราสาทมากมายเหลือคณานับอยู่แล้ว ครั้นจะบอกว่าที่อื่นๆยังมีปราสาทแบบนี้อีกก็คงต้องคิดหนัก เพราะการท่องเที่ยวในเมืองเสียมเรียบ หากใจไม่ถึงพอก็คงจะเข็ดไปตามๆกัน หรือประเภทมาครั้งเดียวก็บอกพอแล้ว เพราะมันทั้งร้อน และต้องปื่นป่ายไปตามกำแพงหิน
อีกอย่างหนึ่งเรื่องปราสาทเก่าๆสมัยอดีตกับคนไทยดูจะไม่ค่อยถูกโฉลกกันนัก เพราะเป็นการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่จำเป็นต้องรู้ที่มาที่ไปพอสมควร ไปเที่ยวกันแบบไม่รู้ข้อมูลหรือไม่รู้เรื่องราว ไปกี่ครั้งก็ไม่เกิดประโยชน์ เพราะเห็นกันแค่กองอิฐกองหิน
การท่องเที่ยวในแนวนี้คงต้องให้เวลากับคนไทยอีกสักระยะ จะนานแค่ไหนก็ไม่ทราบได้ หรืออาจจะราว 40 50 ปี ที่คนไทยจะหันมาสนใจกับโบราณสถานต่างๆ ที่มีอยู่มากมายในประเทศ
ระบบการศึกษาในบ้านเราไม่ได้ปลูกฝังให้รักประเทศและประวัติศาสตร์ชาติไทย ผลจึงออกมาเป็นแบบนี้
ต่างกับประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดี มักให้ความสำคัญกับอดีตหรือประวัติศาสตร์กันมาก เพราะมันเป็นรากเหง้าของชนในชาติ และจะทำให้เกิดความรู้สึกหวงแหนประเทศ หรือรักประเทศชาติของตน แม้แต่คนไทยที่ไปเรียนต่างประเทศ บางประเทศจะบังคับให้คนจากที่อื่นต้องเรียนวิชาประวัติศาสตร์ของเค้าก่อนเป็นอันดับแรก
ระบบการศึกษาบ้านเราเหมือนกับสอนให้รู้จักแต่พ่อแม่ ส่วนปู่ย่าตาทวดที่มีอายุมากๆกลับไม่แนะนำให้รู้จัก จึงไม่ต่างกับครอบครัวที่ขาดความอบอุ่น ขาดสายสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกัน บ้านเมืองเราเมื่ออดีตมีความเป็นมาอย่างไรเรากลับไม่รู้เรื่อง รู้แต่เพียงว่า ไทยเราถูกพม่าเผาเมือง
แต่สมัยก่อนไทยเราไปเผาเวียงจันทน์จนกลายเป็นเมืองร้าง คงมีน้อยคนที่จะรู้ความจริง
ทุกวันนี้เราจึงไม่ค่อยหวงแหนโบราณสถานที่มีความสำคัญ ทีอย่างปราสาทเขาพระวิหารของเขมร คนไทยบางกลุ่มกลับกระเหี้ยนกระหือรือจะเอาให้ได้ แต่ประเทศตนมีปราสาทตั้งมากมาย เรากลับไม่ปลุกพลังให้เห็นคุณค่า
คิดในใจว่าปราสาทเขาพระวิหารเป็นของเขมรหรือของคนอื่นนะดีแล้ว กลัวว่าเป็นของไทยแล้วอาจทำเรื่องขายขี้หน้าเช่นเดียวกับมรดกโลกกรุงศรีอยุธยา จนยูเนสโกเค้าเขม่นมาแล้วหลายหน เพราะไปทำสกปรกเลอะเทอะและไร้ระเบียบวินัย เมืองมรดกโลกกรุงศรีอยุธยากลายเป็นตลาดนัดสินค้า มีบรรดาหาบเร่แผงลอย เข้าไปตั้งแผง แขวนชุดนอน และกางเกงใน กันข้างกำแพงโบสถ์
หลายปีก่อนได้รู้จักกับนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นอายุราว 27 แกเห็นรูปโบราณสถานของไทยก็บอกว่า The Great (ยิ่งใหญ่)ไปหมด ไปเห็นพระปรางค์วัดอรุณด้วยตาตนเองก็ตื่นเต้น เห็นภาพจิตรกรรมฝาผนังในวัดพระแก้ว ก็ยกนิ้วให้และพูดได้แต่เพียงว่า The Great บอกว่าเมืองไทยนี้ยิ่งใหญ่มาก
จากนั้นเด็กหนุ่มคนนี้ก็มาเมืองไทยอีกหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายก็พูดคุยกันด้วยภาษาไทยเป็นหลัก หรือเที่ยวบ่อยจนพอพูดภาษาไทยได้ สรุปว่าแกเที่ยวเมืองไทยมากกว่าผมเสียอีก
เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่าระบบการศึกษาของประเทศที่พัฒนาแล้ว เขาพยายามให้รู้จักคุณค่าของตัวเอง คนไทยเไม่น้อยคิดว่าต่างชาติโดยเฉพาะยุโรปและอเมริกานี่แหละคือต้นแบบของประเทศ เราต้องออกแบบประเทศให้ไปในแนวทางนี้
แม้แต่เรื่องการปกครองก็บอกว่าต้องเป็นแบบอังกฤษ หรืออเมริกา เพราะคนของเค้ามีสิทธิมีเสียงกันเต็มที่ เป็นประชาธิปไตยเต็มใบ โดยลืมไปว่าเรามีระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์องค์ประมุข เป็นร่มโพธิ์ของชาวไทย ที่ถือว่าวิเศษสุด
เบ็งเมเลีย ปราสาทกลางป่า
ปราสาทแห่งนี้กษัตริย์องค์ใดเป็นผู้สร้าง ปัจจุบันก็ยังหาคำตอบได้ไม่ชัดเจนนัก แต่สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1656 - 1688) กษัตริย์นักรบที่เข้มแข็งที่สุดในยุคขอม ขณะเดียวกันก็ผู้เป็นสร้างปราสาทนครวัด ศาสนสถานที่ยิ่งใหญ่ของโลก ปราสาทหินนครวัด เป็นทั้งมรดกโลก และเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ปัจจุบันมีอายุเกือบ 900 ปี
คิดแล้วก็แทบไม่น่าเชื่อว่าในสมัยของพระองค์สามารถสร้างปราสาทที่ยิ่งใหญ่ได้ถึง 2 แห่ง ซึ่งแต่ละแห่งต้องใช้เวลาก่อสร้างค่อนข้างยาวนาน
เบ็งมาเลีย เป็นปราสาทกลางป่าใกล้ๆกับเขาพนมกุเลน ในดินแดนเก่าแก่ของอาณาจักรขอมโบราณ ปัจจุบันการท่องเที่ยวปราสาทเบ็งมาลีย ไม่ได้อยู่ในโปรแกรมท่องเที่ยวทัวร์คนไทย หากติดจะไปเที่ยวก็ต้องซื้อทัวร์จากท้องถิ่นที่เสียมเรียบ หรือเหมาแท๊กซี่จากเสียมเรียบไปเที่ยวกันเอง ค่าเช่าบริการราว 1 พันบาท (ปี 51)
เส้นทางท่องเที่ยวบริเวณเทือกเขาพนมกุเลนในจังหวัดพระวิหารมีหลายแห่ง ที่น่าสนใจ ที่เด่นที่สุดก็คือ เบ็งมาเลีย ปราสาทหินขนาดใหญ่ มีรูปแบบการก่อสร้างหรือมีแบบแผนที่ชัดเจน เช่น คูน้ำ กำแพงล้อม และปราสาทสำคัญๆ
้ปัจจุบันได้พังทลายไปเกือบหมด แต่พอจะเห็นเค้าโครงในบางส่วน
ปราสาทนครวัด เป็นปราสาททางทิศตะวันตก ส่วนปราสาทเบ็งเมเลีย ได้รับฉายาว่า นครวัดแห่งตะวันออก ทั้งสองปราสาทนี้สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 หากเป็นจริงก็ถือว่ากษัตริย์พระองค์นี้มีความยิ่งใหญ่มาก เพราะลำพังแค่นครวัดเพียงแห่งเดียวก็ยิ่งใหญ่เหลือกินแล้ว
ปราสาทที่สร้างในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ปัจจุบันมีอายุเกือบ 900 ปี
นับเป็นเวลานานหลายชั่วอายุคน ขณะเดียวกันก็สร้างความงุนงงให้กับคนสมัยปัจจุบันว่าชาวขอมสร้างกันได้อย่างไร เพราะมันไม่ง่ายที่สองมือมนุษย์จะทำกันได้โดยไม่มีเทคโนโลยี่หรือเครื่องทุ่นแรงใดๆเลย
คำตอบก็คือพลังแห่งศรัทธาที่มีต่อกษัตริย์ ซึ่งสมัยก่อนถือกษัตริย์เป็นตัวแทนของเทพในศาสนาฮินดูได้แก่ พระวิษณุ หรืออีกชื่อหนึ่งคือ พระนารายณ์
พระวิษณุ ปกติจะทรงประทับอยู่ที่เกษียรสมุทร โดยจะทรงบรรทมอยู่บนหลัง อนันตนาคราช ซึ่งอนันตนาคราช หรือ หัวงู 7 หัว ซึ่งพบมากรช่วงะหว่างทางเดินเข้าปราสาท สมัยก่อนถือว่าสะพานอนันตนาคราชนี้เป็นสะพานสู่สวรรค์
ใครอยากเห็นพระวิษณุกันอย่างชัดๆก็ต้องไปที่สนามบินสุวรรณภูมิ ในบ้านเรานี้เอง เป็นปฎิมากรรมที่เหล่าเทวดากำลังกวนเกษียรสมุทร โดยมีพระวิษณุเป็นองค์ประธานพิธี
"กวนเกษียรสมุทร" สถานที่ซึ่งเป็นที่สถิตย์ของน้ำอมฤตเป็นสถานที่อมตะ มั่งคง ยืนยงสถาพร เช่นเดียวกับ สุวรรณภูมิ อันเป็นแผ่นดินทอง ความอุดมสมบูรณ์ ความเจริญรุ่งเรือง มั่นคง เป็นอมตะ ความหมายก็คือ ความเจริญรุ่งเรืองที่ไม่มีที่สิ้นสุด
ในบริเวณปราสาทเบ็งมาเลีย เราจะเห็นภาพสลัก อนันตนาคราช และการกวนกษียรสมุทร อยู่หลายแห่ง
พบกันใหม่ในตอนที่ 15 ตอนสุดท้ายครับ จะพาไปซิ่งรถที่เขมร โหดแค่ไหนต้องตามไปดู
โฟโต้ออนทัวร์
28 กุมภาพันธ์ 2554
แผนผังปราสาท เบ็งเมเลีย คลิกที่ภาพ
 
...............................................................................................................................................................................................................................................
|