|
 |
|
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
|
|
|
|
|
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
|
ถึงซาปา |
ลุยซาปา |
ลุยซาปา |
นาขั้นบันใด |
หมู่บ้านม้ง |
ในเมืองซาปา |
เมืองซาปา |
หมู่บ้านกั๊ตกั๊ต |
ฮามรอง |
หมู้บ้านม้ง |
|
|
|
|
|
|
|
Home |
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
ซาปา ฉายาสวิสเซอร์แลนด์ของเวียดนาม เมืองเล็กๆใน จ.ล่าวกาย อยู่เหนือสุดของประเทศ ติดกับมณฑลยูนนานของจีน อดีตเป็นเมืองตากอากาศของฝรั่งเศสในยุคล่าอาณานิคม ซาปามีอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี บางปีอาจเห็นหิมะตกในเมืองหรือปกคลุมยอดเขา ฟานซิปัน ภูเขาสูงสุดของเวียดนาม และสูงที่สุดในอินโดจีน ความสูง 3,143 เมตร สูงกว่ายอดดอยอินทนนท์ถึง 578 เมตร .. ติดตามแดนฝัน สวรรค์ของเวียดนามได้ที่นี่ครับ.. (เดินทางเมื่อ 1 ตค.50) |
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
|
|
|
|
ซาปา ตอนที่ 6 : เดินเล่นในเมืองซาปา
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ซาปา (Sapa) ตอนที่ 6 พักเที่ยวนอกเมืองชั่วคราว มาเดินเที่ยวในเมืองให้เมื่อยน่องดีกว่า
(เดินทางเมื่อ 1 ตค.50)
ซาปาตอนที่ 6 พักขอเที่ยวนอกเมืองไว้ชั่วคราว แล้วมาเดินเที่ยวในเมืองให้เมื่อยน่องดีกว่า
ระหว่างนั้นเห็นกรุ๊ปทัวร์จากจีน และไทย เดินตามไกด์กันเป็นพรวน เป็นภาพที่เพิ่มความคึกคักให้กับเมืองนี้ เพราะปกติแล้วเมืองนี้่ค่อนข้างเงียบเหงา
ถนนเป็นเนิน สูงๆ ต่ำๆ เดินไปเดินมาไม่ถึงสองชั่วโมง ชักเริ่มเมื้อยล้าจนออกอาการ แรกๆก็แปลกใจว่าทำไมมันเมื่อยเร็วจัง แถมก้าวขาไม่ค่อยออก แต่ตอนหลังก็เข้าใจว่า นอกจากสภาพของในเมืองจะเป็นเนินตามพื้นที่ของภูเขาแล้ว เรื่องระดับความสูงจากน้ำทะเลก็มีส่วน
แต่จะเที่ยวซาปาให้สนุกมันก็ต้องเดิน และเดิน..
ใครเริ่มออกอาการว่าเริ่มมีปัญหากับน่อง คงหาตัวช่วยก็ไม่ยาก "มอเตอร์ไซด์รับจ้าง " มีอยู่ทั่วไป เรียกหามาใช้บริการด้วยสนนนราคาที่ไม่แพง แต่จะพูดกันรู้เรื่องหรือเปล่า ตรงนี้น่าเป็นปัญหา เรื่องภาษาอังกฤษของคนเวียดนามแล้วยังไม่ค่อยแข็งแรง (พอๆกับคนไทย) คงต้องใช้ภาษามือช่วยบ้าง จะได้พาไปส่งยังที่หมายได้ ทางที่ดีควรพกนามบัตรของโรงแรมที่พักติดกระเป๋าไว้ด้วย เมื่อจะใช้บริการรถมอเตอร์ไซด์กลับที่พัก ก็เพียงยื่นนามบัตรให้ดู
เมืองซาปาน่าเดินเล่นมากครับ ถนนหนทางแทบร้างราผู้คน จะมีจุดจอแจหน่อยก็ตรงตลาดสด แถวๆโบสต์ หรือสี่แยกใหญ่ ที่เป็นลานกว้างกว่าพื้นที่อื่นๆ แถวนี้มีร้านขายของประเภทตลาดนัด ขายพวกเสื้อผ้า และสินค้าเวียดนามสำหรับนักท่องเที่ยว ราคาอาจแพงหน่อย แต่ก็ต้องต่อราคาด้วย
วันนั้นผมซื้อเสื้อยืดใส่เล่นไป 2 ตัว (เสื้อหมดสต๊อค) ตัวแรกซื้อแพงหน่อย ซึ่งความจริงก็ไม่รู้ราคาที่แท้จริงว่ามันควรจะเป็นเท่าไหร่ ต่อได้ราคาที่พอใจแล้วก็ซื้อมา 1 ตัว พอเดินผ่านไปอีกร้าน ซึ่งเจ้าของคงเห็นว่าเราซื้อมาจากร้านแรก จึงลดราคาให้ฮวบ จนแทบจะเอาเสื้อยึดที่ซื้อมาไปคืนร้านแรกด้วยความแค้นใจ
ดังนั้นเพื่อไม่ให้เสียหน้าว่าเราซื้อมาแพง จึงต้องซื้ออีกตัวหนึ่งจากร้านที่สอง แต่คนละสี สองตัวเฉลี่ยราคากันแล้ว ก็ถือว่าสมเหตุสมผล เรียกว่าเล่าให้ใครฟังก็ไม่เสียหน้า ว่างั้นเถอะ...
ตกตอนเย็นในย่านหน้าตลาดและลานเอนกประสงค์บริเวณสี่แยกหน้าโบสถ์มีความคึกคักมาก นักท่องเที่ยวจะมาเดินเล่นแถวๆโบสต์คริสต์ ซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของเมืองซาปา ย่านนี้จะมีแม่ค้ามานั่งขายพวกปิ้งๆย่างๆกันควันโขมง มีเก้าอี้ตัวเล็กๆไว้บริการลูกค้า นั่งไปก็ชมวิวแถวๆนั้นไป เรียกว่าได้บรรยากาศดีที่เดียว อากาศกำลังเย็นสบาย แต่ออกจะหนาวสักหน่อยสำหรับคนไทย
เป็นเรื่องน่าแปลกที่เมืองซาปาเลือกโบสต์คริสต์เก่าแก่หลังเล็กๆ มาเป็นสัญลักษณ์ แทนที่จะใช้ยอดเขาฟานซิปันที่สูงที่สุดของเวียดนามและอินโดจีน แต่ถ้าหากใครทราบที่มาที่ไปของซาปาแล้วก็อาจถึงบางอ้อ ว่าซาปาซึ่งเป็นที่รู้จักมาถึงทุกวันนี้ ก็มาจากพวกฝรั่งมังค่า หรือพวกฝรั่งเศสที่เคยปกครองเวียดนามเมื่อราวร้อยปีก่อนระหว่าง พ.ศ.2416 จนถึง พ.ศ. 2484
ซาปาเป็นที่นิยมของคนฝรั่งเศสเนื่องจากมีสภาพอากาศที่ใกล้เคียงกับยุโรป
ช่วงฤดูหนาวในสมัยก่อนนั้นจะมีหิมะตกเป็นประจำทุกปี เรียกว่าไม่น้อยหน้าประเทศในเขตหนาว
โบสต์คริสต์หลังเล็กๆนี้ก็ถือกำเนิดมาจากพวกฝรั่งเศส เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในวันหยุดพักผ่อน
โบสต์ตริสต์นอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ของเมืองแล้วก็ยังถือว่าเป็นศูนย์กลางของเมืองซาปาไปด้วยในตัว หากขึ้นไปอยู่บนยอดขาสูงเช่น เขาฮามรอง ก็จะเห็นโบสต์คริสต์ตั้งอยู่โดดเด่นท่ามกลางตึกอาคารอื่นๆที่อยู่รายล้อม ดังนั้นโบสต์หลังนี้จึงถือเป็นสัญลักษณ์ในเชิงของการท่องเที่ยวไปด้วย
ซาปาในช่วงเวลาที่ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส คงไม่ต่างกับเป็นดินแดนของชาวเขาล้วนๆ มีอาชีพปลูกผัก ทำนาข้าวขั้นบันใด เดิมทีเดียวชาวเขาที่นี่มีไม่มากนัก เป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ตามรอยตะเข็บติดต่อกับประเทศจีน อาจเรียกว่าเป็นชาวเขารุ่นแรกๆที่อพยพลงมาจากจีน ตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์
ต่อมาจีนมีปัญหาภายในประเทศ เข้าใจว่าน่าจะในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบจักรพรรดิ์ มาเป็นระบอบคอมมิวนิวต์ ที่บังคับให้ประชาชนนำข้าวที่ปลูก มาไว้ที่ยุ้งฉางกลางของรัฐ แล้วรัฐบาลจะแบ่งปันให้ไป เรียกว่าเป็นการเฉลี่ยให้มีกินมีใช้กันทั่วทั้งประเทศ จุดนี้จึงคาดเดาว่าชาวเขาที่ปลูกข้าวทำนาจะได้รับผลกระทบ ถูกกดขี่ ถูกบังคับ จึงอพยพหนีภัยลงมาสู่ประเทศเวียดนาม สมทบกับชาวเขาดั่งเดิม ทำให้ซาปาเป็นเมืองที่มีประชากรของชาวเขามากที่สุดของประเทศ
สำหรับประเทศอื่นๆทางแถบอินโดจีน ไม่ว่าจะเป็นพม่า ไทย ลาว เขมร หากนับจำนวนประชากรของชาวเขาแล้วถือว่าน้อยกว่าประเทศเวียดนามมาก
เมืองไทยทุกวันนี้คงหาชาวเขาประเภทสายเลือดที่แท้จริงค่อนข้างยาก ส่วนใหญ่ผสมผสานกลืนหายไปกับคนไทยจนหาคำว่า ต้นกำเนิด หรือ Original ได้ยากเต็มที เราจะพบชาวเขาที่แสดงตัวตน และแต่งกายตามแบบของชนเผ่าก็เฉพาะในวันขึ้นปีใหม่ หรือวันสำคัญอื่นๆเท่านั้น นอกนั้นก็อาจนุ่งผ้าถุงบ้าง กางเกงยีนส์บ้าง ดูไม่ออกว่าคนไหนชาวเขา คนไหนคนท้องถิ่น
เมื่อสภาพทางสังคมเปลี่ยนไป ชาวเขาส่วนหนึ่งลงมาเรียนหนังสือยังในเมือง จึงถูกกระแสโลกาภิวัตน์ครอบงำจนหมดสิ้น กลับไปบ้านก็ไม่อยากแต่งชุดชาวเขา เพราะจิตใจได้กลายเป็นคนในเมืองไปแล้ว นี่คือการเปลี่ยนแปลงที่ห้ามกันไม่ได้
แต่ที่เมืองซาปาประเทศเวียดนาม ตรงกันข้ามกับชาวเขาในเมืองไทยตามที่กล่าวมาอย่างสิ้นเชิง
สังคมชาวเขาที่ซาปายังมีความเหนียวแน่นมาก ความเจริญจากสังคมเมืองเข้ามาได้น้อย ไม่ได้มีการผสมผสานทางสังคมเหมือนกับประเทศไทย สังคมชาวเขายังเป็นแบบดั่งเดิม มีความรู้สึกเป็นชนเผ่าทั้งร่างกายและจิตใจ
ชาวเขาในซาปาไม่มีโอกาสได้ไปเรียนหนังสือในเมืองเหมือนชาวเขาในเมืองไทย ตามหมู่บ้านจะมีโรงเรียนเล็กๆที่ทางการเวียดนามจัดหาครูมาสอนให้เด็กๆชาวเขา อาจพออ่านออกเขียนได้ เรียกว่าไม่ได้เรียนสูงมากนัก จบมาก็ยังทำมาหากินด้านการเกษตรเหมือนกับบรรพบุรุษอยู่เช่นเดิม
มาเที่ยวซาปาแล้วทำให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสเห็นการดำรงชีวิตของชาวเขาแบบดั่งเดิม ที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมากนัก โดยเฉพาะเรื่องเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายที่สวมใส่ ซึ่งแสดงออกถึงชาติพันธ์ได้อย่างชัดเจน ครบถ้วน และถูกต้องตามวัฒนธรรมของตนเองอย่างแท้จริง
หากจะตีราคาเสื้อผ้าทั้งชุดของชาวเขาแต่ละคนตามที่วางขายให้นักท่องเที่ยวแล้ว คงคิดเป็นเงินค่อนข้างแพง เริ่มจากหมวก เครื่องประดับ เสื้อผ้า ถุงย่าม ผ้ารัดข้อเท้า และพวกโลหะประดับต่างๆ รวมกันแล้วอาจมีราคามากกว่า 2 พันบาท เทียบกับเครื่องแต่งกายอย่างเราๆท่านๆแล้วคงมีราคาไม่มากนัก จึงสรุปแบบง่ายๆว่า เสิ้อผ้าที่ชาวเขาสวมใส่มีราคาแพงกว่าเสื้อผ้าที่เราใส่ก็คงน่าจะใช่
ภาพเมืองซาปาเมื่อเดือนตุลาคม 2550 เทียบกับปัจจุบัน (2552) อาจแตกต่างกันไม่มาก เพราะเวียดนามไม่ได้ฟื้นฟูประเทศได้เร็วนัก และอีกอย่างหนึ่งคนเวียดนามก็ยังอยู่ในช่วงของการทำมาหากินและสร้างฐานะ น้อยคนที่จะมีความพร้อมจนรู้สึกอยากไปท่องเที่ยว หรือวางแผนที่จะไปเทียวตามที่ต่างๆเหมือนคนไทย
เมืองไทยมีงานนิทรรศการด้านการท่องเที่ยวเช่น งานไทยเที่ยวไทย หรือ เที่ยวทั่วโลก ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ ที่บรรดาธุรกิจท่องเที่ยว เอเย่นต์ทัวร์ โรงแรม ต่างประสบความสำเร็จกันถ้วนหน้า เรียกว่าเป็นโอกาสทอง
หากประเทศเวียดนามจัดงานแบบนี้บ้าง ก็รับรองว่าเจ้งแน่ เพราะธุรกิจด้านท่องเที่ยวยังไม่เติบโต และคนเวียดนามยังไม่ค่อยมีรสนิยมในเรื่องการท่องเที่ยวมากนัก เทียบสัดส่วนกับบ้านเราแล้วถือว่าน้อยมาก ธุรกิจโรงแรม ที่พัก หรืออื่นๆที่เกี่ยวกับการท่องเทียว ทุกวันนี้เป็นเพียงแค่เริ่มต้นเท่านั้นเอง การลงทุนในเรื่องของตึกอาคารโรงแรมที่พักที่ใช้เงินทุนสูงๆ ยังต้องพึ่งพานักลงทุนต่างชาติ เช่นเกาหลีเป็นต้น
ไทยเราหากจะเทียบเรื่องธุรกิจการท่องเที่ยว และธุรกิจบริการอื่นๆเกี่ยวกับการท่องเที่ยวแล้วต้องยอมรับว่าเราก้าวมาไกลกว่าประเทศอื่น เรามีความชำนาญในด้านธุรกิจนี้ ชนิดที่หาคู่แข่งในย่านนี้ได้ยาก และยิ่งพูดถึงเรื่องการให้บริการของคนไทยแล้ว ต้องบอกว่าเรากินขาด และยากนักที่ชาติอื่นๆจะเลียนแบบได้
แค่รอยยิ้มอย่างเดียวก็แทบหาไม่ได้ในประเทศอื่นๆ
ผิดกับเราที่ส่งยิ้มให้ลูกค้าพร้อมทักทาย Say Hello เรื่องนี้เหมือนดูง่าย แต่ในต่างประเทศแล้วหาทำยายาก บริกรทุกคนไม่ว่าในที่ใดๆจะทำตัวแบบทื่อๆเหมือนกันหมด ดูไม่ค่อยจะอบอุ่นและเป็นกันเองนัก เรียกว่าเป็นการทำตามหน้าที่ไปวันๆ ไม่ได้แสดงความรู้สึกที่ออกมาจากใจเหมือนคนไทย
สิ่งเหล่านี้มันเป็นคุณสมบัติ และเป็นทรัพย์สินที่ติดตัวคนไทย
เที่ยวซาปายังไม่จบนะครับ วันนี้เอาแคนี้ก่อน ตอนต่อไปจะพาไปเที่ยวในยามเย็น และยามราตรี เห็นภาพแล้วอาจสงสัยว่าไปถ่ายภาพมาจากแถวๆยุโรปกันหรือเปล่า คงบอกล่วงหน้าด่อนว่าไม่ต้องงง เพราะผมมเองก็งงมาแล้วเหมือนกัน ว่านี่มันเวียดนาม หรือยุโรปกันแน่
เว็บมาสเตอร์
โฟโต้ออนทัวร์
12 มีนาคม 2552
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
copyright © www.photoontour.com, All rights reserved : ภาพในเว็บไซต์ได้รับความคุ้มครองตามกฏหมายลิขสิทธิ์ : สนใจภาพ  |
|
|